Friday, 20 July 2012
อีกมุมคิดกับรถคันแรก
« ภาระหรือพารุก | Main | ดูแก้วชก ....แล้ววกมาที่หุ้น »รถยนต์ส่วนตัวกลายเป็นปัจจัยสำคัญของชีวิตคนไทยมานานแล้ว หลายคนบอกว่านอกเหนือจากปัจจัยสี่ในการดำรงชีวิตแล้ว ถัดมาก็ต้องเครื่องมือสื่อสาร แล้วก็รถยนต์ส่วนตัว
แต่ถ้าดูเฉพาะ พ.ศ.นี้ ปี 55 ผมว่าเรื่องรถส่วนตัว โดยเฉพาะซื้อรถคันแรก ถูกแทรกขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ ของการดำรงชีวิตแล้ว
แน่นอนว่า การได้คืนเงินภาษีไม่เกิน 1 แสนบาทจากรัฐบาล สำหรับผู้ซื้อรถเป็นคันแรกของชีวิต (ตามเงื่อนไขที่กำหนด) โดยมีกำหนดเวลาซื้อไม่เกินปีนี้ เป็นสิ่งกระตุ้นและกระตุกความต้องการซื้อ ให้ไหลพรวดมารวมอยู่ในปี 55 นี่แหละ
ผลก็คือ มีคนเป็นล้านในประเทศไทยที่ต้องพูดคุยและคิดเรื่องซื้อรถดีไหมในปีนี้
ในฐานะที่เคยซื้อรถใหม่ รถมือสอง ขายรถคันเดิมมาบ้าง รวมทั้งมีโอกาสได้ใช้รถขององค์กรที่ผมทำงานอยู่รวมๆ แล้วร่วม 10 คันที่ผ่านมือ ถือซะว่า อาบน้ำให้รถมาก่อนน้องๆ เพื่อนๆ ที่กำลังจะซื้อรถคันแรกในปีนี้ จึงขอช่วยให้มุมคิดเป็นข้อมูล แต่ยังสงวนสิทธิ์การตัดสินใจเป็นของคุณผู้อ่านเองนะครับ
มุมคิดที่ผมขอฝากให้คิด ก็คือ
1. จำเป็นต้องซื้อจริงหรือ โปรดอย่าเข้าใจผิดว่า เรากำลังตัดสินใจว่า รัฐบาลให้เงิน 1 แสนบาทลอยๆ แต่เราต้องถูกผูกมัดเป็นเจ้าของรถคันนั้น 5 ปี ซึ่งภาระที่ใหญ่กว่าคือ เมื่อครบ 5 ปี มูลค่าของรถจะทรุดต่ำลงไปประมาณ 40-60% ตามแต่ยี่ห้อ รุ่น การทนุถนอม แม้กระทั่งสีรถที่เลือกรถยนต์ยี่ห้อที่ขายดีมาก 2 ยี่ห้อ และใครๆ ก็บอกว่าหาอะไหล่ง่ายนั้น ผมลองคำนวณคร่าวๆ จากราคาตลาดที่ผ่านไปทีละปี พบว่าราคาลดลงประมาณปีละ 8%ขณะที่รถไม่ใช่ 2 ยี่ห้อนั้น ผมพบว่า ราคาลดลง 10-12% ต่อปี คำนวณแบบคร่าวๆ แบบง่ายไม่วุ่นวายเต็มรูปแบบตามตาราง จะเห็นได้ว่า สุดท้ายแล้วเราก็จะมีขาดทุนจากการที่ราคาตกลงไปหลายแสนบาท
1. สมมติถ้าเราซื้อรถราคา 600,000 บาท 2. ถือไป 5 ปีราคาตก 50% 3. \มูลค่าที่หายไป (1)X2) 300,000 บาท 4. แต่รัฐบาลคืนเงินให้ในปีที่สอง 100,000 บาท 5. สุทธิแล้วใน 5 ปี (4)-5) ขาดทุน 200,000 บาท |
นี่ยังไม่นับรวมค่าใช้จ่ายอีกหลายรายการที่คุณต้องจ่ายสมมติจากการใช้รถ ปีละ 20,000 กิโลเมตร หรือวันละ 55 กิโลเมตร และคิดที่รถขนาดเล็กนะครับ
ค่าใช้จ่ายที่น่าจะมี | บาทต่อปี | บาทต่อ 5 ปี |
1. ค่าดูแลรักษาน้ำมันเครื่อง ไส้กรอง ฯลฯ | 5,000 | 25,000 |
2. ประกันภัยชั้น 1 หรือค่าซ่อมอุบัติเหตุเอง | 20,000 | 100,000 |
3. ค่าน้ำมันรถ โปรดอย่าเชื่อว่าขับรถจริง โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ จะประหยัด 15-20 กม.ต่อลิตร ควรคิดที่ 10-12 กม.ต่อลิตร (หรือ 8 กม.ต่อลิตร ถ้าใช้รถใหญ่) | 74,000 | 370,000 |
4. ค่าเปลี่ยนยางที่ 50,000 กม. และค่าซ่อมใหญ่เมื่อใช้ครบแสน กม. | - | 80,000-100,000 |
5. ค่าที่จอดรถ | 12,000 | 60,000 |
เบ็ดเสร็จแล้ว การซื้อรถคันแรก ถือไป 5 ปี ไม่ใช่มองว่ามีลาภลอยมา 1 แสนจะเอาหรือไม่ แต่เป็นการมองว่ามีค่าใช้จ่ายประมาณ 8 แสนกว่าบาท (หักลบคืนภาษี 1 แสนแล้ว) แลกกับผลตอบแทนที่ได้จากการใช้รถ
ผลตอบแทนจากการใช้รถ |
1. ไม่ต้องโหนรถเมล์ ขึ้นรถตู้ ตากแดด ตากฝน 2. บางคนอาจรู้สึกว่าตัวเองจะดูดีขึ้นเมื่อมีรถส่วนตัว 3. ปลอดภัยจากการใช้แท็กซี่ แม้จะมีคนขับแท๊กซี่เกือบ 100% เป็นคนดี แต่ก็มีคดีเป็นข่าวอยู่บ้าง |
ถ้าชั่งตวงน้ำหนักผลตอบแทนกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป คุณคิดว่าคุ้มก็ไปสู่คำถามที่ 2
2. มีเงินพอไหม หรือถ้ากู้ผ่อนไหวไหมถ้าคุณมีเงินออมมากพอที่จะซื้อสด และตอบคำถามข้อ 1 ว่าคุ้มที่จะซื้อรถคันแรก สำหรับคนในโลกของการลงทุน อาจมีทางเลือกอีกว่า จะเอาเงินสดที่มีไปลงทุนซื้อรถมาทำให้ชีวิตมีความสุขเดี๋ยวนี้ หรือจะเอาเงินไปลงทุนในตลาดหุ้นดี
จริงอยู่ที่หุ้นเป็นของเสี่ยงสูง บางปีขึ้น บางปีลง เฉลี่ยแล้ว 5 ปี อาจขึ้นสัก 3 ปี ลง 1 หรือ 2 ปี แต่โดยสถิติถ้าถือ 5 ปี ยาวเท่ารถคันแรก มีโอกาสเป็นบวกได้และโดยค่าเฉลี่ยผลตอบแทนหุ้นไทยปีละ 10-12%
ในกรณีที่คุณมีเงินสดไม่พอ และจำเป็นต้องซื้อรถคันแรกให้ได้ จริงอยู่ที่ทุกวันนี้ดอกเบี้ยไม่สูงนัก อยู่แถว 2.50% คำนวณแบบไม่ลดเงินต้น ประมาณว่า เสมือนจ่ายดอกเบี้ยจริงประมาณ 2 เท่าของดอกเบี้ยเช่าซื้อรถที่ประกาศ นั่นคือ แถว 5% บวกลบ
แต่ละโชว์รูมมีตัวเลขเงินผ่อนรถให้ดูอยู่แล้ว ถ้าราคา 6 แสนบาท คุณต้องดาวน์ประมาณ 15% และต้องผ่อนประมาณหมื่นบาทต่อเดือน
จังหวะนี้รีบถามตัวเองว่าผ่อนไหวแน่นะ เงินเดือนของเราจะได้รับแน่ๆ ทั้ง 48 หรือ 60 เดือน ที่เราตกลงผ่อนจริงหรือเปล่า อย่าลืมว่าทศวรรษปัจจุบันของประเทศไทย ถ้าไม่ใช่ข้าราชการแล้ว ทุกอาชีพก็ไม่มั่นคงดั่งภูผ าเหมือนยุคก่อน
3. ถ้าซื้อ จะเลือกรถยี่ห้อไหนดีก่อนหน้านี้ อาจเลือกได้ทุกยี่ห้อ แต่เนื่องจากขณะนี้ จองคิวกันจนล้น โชว์รูมเกือบทุกที่จึงบอกก่อนเลยว่า ได้รถ มี.ค.หรือ เม.ย. ปี 56 ไปเลย ซึ่งทำให้คนจองมีความเสี่ยงที่จะไม่ได้รถมาทันสิทธิคืนภาษี
ดังนั้น ถ้าต้องการพึ่งพาเงินคืนภาษีจากรัฐบาล ก็คงต้องเลือกรถที่ยืนยันว่าได้รับรถทันแน่แต่ถ้าเราไม่สนใจเงินคืนภาษี เพราะดูไปดูมาในการทุ่มทุนลงไป 5 ปี ก็ร่วม 8 แสนอยู่แล้ว เงินคืนแสนเดียวจึงกลายเป็นก้อนจิ๊บๆ จึงขอเลือกรถสักคันที่เหมาะกับตัวเราดีกว่าจะเลือกรถอะไรก็ต้องมีการถามตัวเองอีกครั้งว่า ชอบแบบไหน ใช้ที่ไหน เพราะรถแต่ละรุ่นมีจุดเด่นจุดด้อยแตกต่างกันยืนยันได้ว่าไม่มีรถรุ่นไหนที่มีแต่จุดเด่นเหนือกว่ารถยี่ห้ออื่นทุกข้อ รวมทั้งยังมีราคาถูกกว่าอีกด้วย
แม้แต่รถเบนซ์ ที่มีภาพลักษณ์หรู ดูดี สมรรถนะเยี่ยม แต่ถ้าจะมองหาที่ติ บางคนก็อาจบอกว่า แพงไป ดูแล้วแก่ไป กินน้ำมันเยอะกว่ารถเล็ก
เพื่อให้เราคิดอย่างมีระบบ เปรียบเทียบง่าย และไม่สับสนกลับไปกลับมา ผมแนะนำให้กำหนดปัจจัยแต่ละข้อที่เราจะให้คะแนน กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 ดาว หรือถ้าข้อไหนสำคัญมากก็ให้มีคะแนนเต็ม 10 ดาวไปเลย ตัวอย่างปัจจัยที่ให้คะแนน เช่น
ก. ราคารถ
ข. รูปแบบ ภาพลักษณ์
ค. ความประทับใจในการขับขี่ (ควรขอลองขับ)
ง. การกินน้ำมัน
จ. ราคาขายต่อปีที่ 5
ฉ. ศูนย์บริการดี, มีมาก
ช. ค่าดูแลรักษา ซ่อมแซมที่คาด
เมื่อใส่คะแนนให้รถแต่ละรุ่นที่เราหมายตาไว้ แล้วรวมคะแนนดูก็อาจช่วยให้เราตัดสินใจได้ง่ายขึ้น และถ้ามีปัจจัยอะไรที่อยากเติมก็ใส่เข้าไปประเมินดูตามที่เห็นว่าเหมาะสม
และไม่ว่าคุณจะตัดสินใจอย่างไรกับเรื่องซื้อรถ สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วก็คือ กระแสซื้อรถในปี 55 นี้ท่วมทะลัก โดยมีตัวเลขคาดการณ์กันในวงการรถยนต์ว่า ยอดขายในประเทศจะแตะ 1.2 ล้านคันในปีนี้ ขณะที่รถมอเตอร์ไซต์ขายในประเทศปีนี้มีเป้า 2.2 ล้านคัน)
ปริมาณรถยนต์จดทะเบียนในประเทศไทยที่เดิมมีอยู่ประมาณ 12 ล้านคัน ก็จะเพิ่มขึ้นอีก 10% ในต้นปี 56 การจราจรคงจะติดขัดหนักขึ้นมาก
ขอฝากคำถามดังๆ ไปยังภาครัฐว่า “ท่านเตรียมแผนแก้ปัญหาจราจรไม่ให้จราจลใน 2-3 ปีข้างหน้าหรือยังครับ”
· สัมมนาหัวข้อ "ประเด็นเด็ด...กรณีพิพาทและแนวทางปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกต้องสำหรับนักวิเคราะห์การลงทุน และผู้แนะนำการลงทุน (เจ้าหน้าที่ การตลาดฯ , เจ้าหน้าที่ขายหน่วยลงทุน เป็นต้น) และผู้บริหาร บล." วันพฤหัสบดีที่ 20 ก.ย.55เวลา 12.45-16.15 น.ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์ฯ สนใจติดต่อที่ 02-229-2355-6 หรือดูรายละเอียดได้ที่ www.saa-thai.org · โอกาสพิเศษสุด สภาธุรกิจตลาดทุนไทย จัดงานครั้งประวัติศาสตร์ “ต่างทัศนะ ร่วมมุมมอง พี่น้องตลาดทุน” โดยเป็นการแสดงวิสัยทัศน์ของรองนายกและรมว.คลัง คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง กับอดีต รมว.คลัง คุณกรณ์ จาติกวณิช ในวันพุธที่ 8 ส.ค.55 เวลา 18.30 น. ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล เวิลด์ มีค่าใช้จ่ายเข้าร่วมงาน 7,500 บาท สำรองที่นั่งผ่านสมาคมนักวิเคราะห์ฯ ที่ 02-229-2329
|
พบกันใหม่เดือนหน้าครับ
[Trackback URL for this entry]
วิเคราะห์ ให้ข้อคิดสะกิคเตือนใจดีครับ
ที่แน่ๆ ยิ่งกว่าแช่แป้งคือ
>การจราจรจะติดขัดเพิ่มขึ้นมากแน่ในปีหน้า โดยเฉพาะในเมืองใหญ่
>ประเทศคงต้องนำเข้าน้ำมันเพิ่มขึ้นอีก เพราะคนมีรถก็ต้องใช้น้ำมัน
>บริษัทรถ ก็คงกำไร เพิ่มขึ้น 30-40%
>ราคารถมือสอง จะตกลงมากกว่าปกติ
เรียน คุณสมบัติ ผมเห็นด้วยหลายประเด็น แต่ขอแย้งเรื่อง รถติด
1. ภาครัฐไม่ได้บังคับให้ซื้อนะครับมันเป็นความพอใจและความโลภของแต่ละบุคคล มันเป็นสิทธิประโยชน์จะใช้หรือไม่ก็ได้
2. Policy maker ไม่เคยคิดเอาเงินไปซื้อรถเมล ใหม่ ๆ เพราะ มันไม่เคยนั่งรถเมล์ มันไม่รู้ความลำบาก เวลาเจอ เขาตีกัน
3. เวลา ฝนตก หรือต้องนั่ง มอเตอร์ไซต์ แล้ว ล้ม มีเยอะไป รับรองได้เลยว่า ซื้อรถ ปลอดภัยกว่า
4. การเปรียบเทียบการซื้อรถ กับการลงทุนในตลาดหุ้น คงไม่สามารถเทียบกันได้ เพราะรถไม่ใช่ การลงทุน เพราะลงไปมูลค่ารถต้องลดลงแน่
5. ส่วนตัวผมไม่ได้มีรถ แต่เห็นว่า การซื้อรถจะช่วยให้ BTS ลดความหนาแน่น ไปได้ เพราะ แค่นึกเวลาไปสยามตอนวันศุกร์ ก็เป็นลม ช่วยซื้อรถ กันหน่อยจะดีมาก
เห็นด้วยกับผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง รัฐไม่ได้จ่ายแค่คันละ 100,000 แต่จ่ายมากกว่านั้นเยอะ ทั้งถนนที่พังเร็วขึ้น อุบัติเหตุที่จะมากขึ้น ภาษีถูกนำไปใช้ใช้มากขึ้น ประเทศใช้พลังงานมากขึ้น แทนที่จะนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาระบบขนส่งมวลชนพื้นฐานมากๆ โลกเขามีแต่จะให้ใช้รถน้อยๆ แต่เรากลับอยากช่วยอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รถขายได้มาก น้ำมันขายได้มากขึ้น นักธุรกิจรายใหญ่ได้ประโยชน์ทั้งนั้น รายได้เพิ่มขึ้น รัฐช่วยให้จ่ายภาษีน้อยลงอีก ส่วนรายย่อยๆ ก็รับเคราะห์ไป
ถ้าของจำเป็นต้องใช้ และสรุปสุดท้ายว่าชอบก็ไม่จำเป็นต้องถามต่อแล้วว่าเพราะอะไร บางคนขับกลับบ้านทั้งๆที่นานๆทีจะได้กลับเนื่องจากต้องรอกลับรถทัวร์
เป็นข้อมูลการวิเคราะห์ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่นึกถึง
เคยนั่งคิดเล่นๆระหว่างนั่งรถเมล์ สมมุติว่าตัวเองเป็นยักษ์ แล้วหยิบเอารถยนต์ส่วนตัว ไปวางซ้อนๆกัน ให้ถนนว่าง
คงจะมีที่บนถนน สำหรับรถเมล์ปรับอากาศ นั่งสบายๆ ไม่แพง ให้เรานั่งได้อีกหลายคัน และถึงที่หมายเร็วขึ้น
ผมแค่กำลังคิดว่า การที่การคมนาคมของไทย พัฒนาไปได้ไม่ไกล ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะคนไทย ไม่อีกหลายคนเลือกที่จะไม่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชล จึงไม่มีฝ่ายไหน มีกระจิตกระใจมาพัฒนาให้มันดี และตอบสนองผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้
ผมว่า ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ เอาด้วย และผู้ให้บริการ พยายามปรับปรุงทำรถเมล์ให้ดูดี มีภาพลักษณ์เหมือนใช้รถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนเรายังพัฒนาไปได้อีกไกล
ทุกฝ่ายต้องเริ่มครับ
เป็นข้อมูลการวิเคราะห์ที่คนส่วนใหญ่ยังไม่นึกถึง
เคยนั่งคิดเล่นๆระหว่างนั่งรถเมล์ สมมุติว่าตัวเองเป็นยักษ์ แล้วหยิบเอารถยนต์ส่วนตัว ไปวางซ้อนๆกัน ให้ถนนว่าง
คงจะมีที่บนถนน สำหรับรถเมล์ปรับอากาศ นั่งสบายๆ ไม่แพง ให้เรานั่งได้อีกหลายคัน และถึงที่หมายเร็วขึ้น
ผมแค่กำลังคิดว่า การที่การคมนาคมของไทย พัฒนาไปได้ไม่ไกล ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะคนไทย ไม่อีกหลายคนเลือกที่จะไม่ใช้บริการระบบขนส่งมวลชล จึงไม่มีฝ่ายไหน มีกระจิตกระใจมาพัฒนาให้มันดี และตอบสนองผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้
ผมว่า ถ้าคนไทยส่วนใหญ่ เอาด้วย และผู้ให้บริการ พยายามปรับปรุงทำรถเมล์ให้ดูดี มีภาพลักษณ์เหมือนใช้รถไฟฟ้า ขนส่งมวลชนเรายังพัฒนาไปได้อีกไกล
ทุกฝ่ายต้องเริ่มครับ
ประเทศไทยกำลังพัฒนานะคะ แต่ยังไม่พัฒนา มันหมายความว่ายังไงน่ะหรือ แต่จะพัฒนาตัวเองในด้านวัตถุมากกว่าด้านอื่นใด สมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามเร่งพัฒนาประเทศให้เท่าเทียมประเทศอื่น โดยการเพิ่มจำนวนประชากร มีนโยบายประกาศให้สตรีมีบุตรให้มากที่สุด ถ้าใครมีลูกมากจะมีรางวัลให้ คือแข่งกันมีลูก ผลปรากฏว่าทุกคนก็มีลูกเต็มไปหมด จนล้นบ้านล้นเมือง มีออกมาแล้วเป็นไงคะ เลี้ยงแบบพออยู่รอด ไร้คุณภาพ นี่คือการพัฒนาของประเทศไทย และมาถึงพ.ศนี้ ประกาศให้ซื้อรถ ผลักดัน ส่งเสริมนโยบายให้มีรถคันแรก ต่อไปจะเป็นยังไง คิดกันเอาเองนะคะ
นานาจิตจะคิดกัน คนมีรถอยู่แล้วคิดอย่างนึง คนยังไม่มีรถแต่อยากมีก็อีกอย่างนึง และคนที่ไม่คิดจะมีรถก็คิดไปอย่างนึง ระบบขนส่งมวลชนในกรุงเทพ จริงๆแล้วก็ถือว่าพัฒนาระดับหนึ่ง นั่งต่อเดียวไปได้ถึงอีกมุมเมือง แต่ที่ไม่มีการพัฒนาคือการบริการที่มีมาตรฐานให้มีความปลอดภัยคนเลยไม่อยากใช้ ดิฉันคนนึงตอนนี้ตั้งครรภ์อยู่ไม่กล้าขึ้นรถเมล์เลย นั่งแต่แท็กซี่ทุกวัน เพราะเพื่อนเคยตกรถเมล์แล้วโดนทับต้องแท้งลูก ตัวเองแทบไม่รอด คิดว่าค่าแท็กซี่น่าจะส่งรถได้สบายเลย มีหลายเหตุผลที่ทำให้คนอยากมีรถเปนของตนเองทำให้ตอนนี้รถติดเปนอย่างมากเพราะหลายอย่างมันเอื้ออำนวยให้ใช้รถยนต์ เช่น คนมีบ้านแต่ไม่มีที่จอดก็เอารถไปจอดไว้ที่ถนนได้ คนที่อยู่คอนโด ก็มีที่จอดรถให้ถึงจะต้องจ่ายค่าจอดเพิ่มก็ยังดีกว่าเดินไปขึ้นรถสาธรณะที่ป้ายมันอยู่แสนไกล แถมยามวิกาลน่ากลัวสุดๆ ไปห้างก็มีที่จอดรถไว้บรีการถึงแม้จะต้องวนรถเปลืองนำ้มันกันอยู่หลายรอบยิ่งถ้าที่จอดว่างแต่ไม่มีบัตรเครดิตไว้เบ่ง ทำให้เสียอารมณ์ไม่น้อยก็ยังต้องวนรถต่อไป ดีกว่าต้องหอบของขึ้นรถเมล์รึว่ารถแท็กซี่ที่ยามฝนตกหายากเสียนี่กระไร พลังงานต้องหมดไปเท่าไหร่ไม่ต้องพูดถึงจิตสำนึกในการรักษ์โลกเชื่อว่ามีกันอยู่ทุกคน แต่มันไม่เข้าถึงจิตวิญญาณต้องปฏิรูปการศึกษาใหม่ แล้วให้ผู้ใหญ่ไปเรียน สุดท้ายก็ทำไรไม่ได้เมืองไทยเป็นประเทศเสรี ใครจะทำไรซื้อไร ทำได้หมด สิ่งที่เราทำได้ตอนนี้คือทำใจและยอมรับในสิ่งที่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน ตราบใดที่ต้องใช้รถเดินทาง ไม่ว่าจะใช้รถส่วนตัว รถไฟฟ้า รถสาธารณะ เพราะเราก็เป็นส่วนนึงในการสร้างปัญหาการจราจรเหมือนกัน ถ้าเลือกได้ก็เลือกทำงานใกล้บ้านเรียนใกล้บ้านซื้อของใกล้บ้าน ถนนคงเบาบางขึ้นเยอะ ลืมตาตื่นมาไม่ต้องต่อสู้กับการจราจร เด็กๆไม่ต้องแหกขี้ตาตื่นไปโรงเรียนดังๆที่อยู่แสนไกล ไม่ต้องนั่งกินข้าวในรถ ชีวิตก็ยังต้องสู้กันต่อไป เฮ้อออออ
เห็นด้วยกับคุณ Phaychy
คนที่เคยมีรถ ไม่เคยลำบากก็คิดอีกอย่างหนึ่ง คนที่ไม่เคยมีรถ เค้าเคยลำบากมาก่อนก็คิดอีกอย่างหนึ่ง
ถ้าประเทศไทยมีระบบขนส่งมวลชนดีๆครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ(ไม่เอารถเมล์สัปปะรังเค) มีรถไฟความเร็วสูง มาตรฐานการบริการที่สูงแบบจีนหรือญี่ปุ่น ถ้าประเทศไทยทำระบบรถไฟฟ้าวิ่งออกต่างจังหวัดดีๆได้ ผมคนหนึ่งล่ะที่เลือกไม่ซื้อรถยนต์คันแรก ผมจะไปซื้อบ้านหลังแรกแทนครับ และคนทำงานในวัยหนุ่มสาวส่วนใหญ่ที่คิดอยากได้บ้านก่อนมีรถเสมอแหล่ะ
ได้รับเงินกู้ในวันนี้ในอัตราที่ต่ำสมัครวันนี้จะได้รับเงินกู้ยืมในอัตรา 3% สมัครวันนี้นี้สามารถเพิ่มธุรกิจของคุณไปสูงมากขึ้น เราจะนำเสนอเงินให้กู้ยืมแก่ธุรกิจและคนส่วนบุคคลถ้าคุณต้องการสินเชื่อที่จะเริ่มขึ้นธุรกิจหรือสินเชื่อเพื่อชำระค่าใช้จ่ายจะติดต่อเราผ่านทาง (georgeanderson.loanfirm255@gmail.com) ในขณะนี้และได้รับเงินกู้จาก บริษัท ของเรา ... ฉันทำให้ดีที่สุดบริการสินเชื่อ
ที่คุณสมบัติวิเคราะห์มานั้นเป็นเพียงข้อควรพิจารณาในระดับบุคคล แต่ในระดับสังคมส่วนรวม ยังมีประเด็นให้พิจารณาเพิ่มเติมสำคัญคือ รถเหล่านี้จะพรั่งพรูออกมาบนถนนในเวลาอันสั้น (ภายในปลายปีนี้เตรียมรับมือได้เลย) ทำให้ปัญหารถติดเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก ส่วนใหญ่ที่ใช้ก็เพียงเพื่อขับไปทำงานและกลับบ้านและไปงานสังสรรค์เฮฮาประสานคนรุ่นใหม่เห่อของใหม่ไร้แก่นสาร ไม่ได้ใช้ไปในงานที่สร้างมูลค่าเพิ่มอะไรให้แก่ทั้งตัวเองและประเทศชาติ แล้วยังกินที่บนถนนและถ่วงเวลาของคนที่จำเป็นต้องใช้เพื่อกิจธุระจริงๆอีกด้วย สำหรับคนที่ทำงานจริงๆแล้ว เวลาที่เสียไปบนถนนคือความสูญเสียวันละหลายชั่วโมง สรุปแล้วคนที่ได้ประโยชน์จริงๆมีกลุ่มเดียวคือผู้ผลิตรถยนต์ คนซื้อรถคันแรกในประเทศนี้เคยคำนึงถึงประเด็นเหล่านี้บ้างไหม มันคุ้มไหมทั้งกับตัวเองและส่วนรวม ถ้าพอใช้รถไฟฟ้าได้ ใช้รถไฟฟ้าดีกว่าไหม