Monday, 7 February 2022
บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) (BRI)
« บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (JWD) | Main | บริษัท แอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) [ASW] »บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร
บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) (BRI)
ชื่อ: ศุภลักษณ์ จันทร์พิทักษ์
ตำแหน่ง: ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
มกราคม 2565
1.จุดเริ่มต้นของคุณจี๊ดจนกระทั่งเข้ามาทำอสังหาริมทรัพย์เต็มตัว
ชื่อ จี๊ด ศุภลักษณ์ จันทร์พิทักษ์ นะคะ ส่วนใหญ่ในวงการเรียกกันว่า "พี่จี๊ด" บางทีเขาเรียกแม่เลยด้วยซ้ำ (ขำ) จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะสถาปัตยกรรม ที่จุฬาฯ จบปริญญาโทบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วก็จบปริญญาเอกเรื่องการจัดการเชิงกลยุทธ์ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้โอกาสจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่ติดอันดับ Top 3 ของประเทศไทยนั่นก็คือ Sino-Thai Engineering พี่จี๊ดอยู่ที่นี่ 21 ปีนะคะ จากก่อสร้างข้ามมาอสังหาฯ ก็ได้เข้าไปร่วมงานที่แรกกับบริษัท Pruksa Real Estate แล้วก็ไปร่วมงานกับบริษัท AP (Thailand) ซึ่งก็เหมือนเติมเต็มในเรื่องของการตลาด ยิ่งพอเข้ามาอยู่ที่ Ananda Development อันนี้ก็จะเป็นอะไรที่เกี่ยวกับการปรับตัวด้านดิจิทัลอย่างเต็มที่ คล้ายกับการทำ Digital Transformation อนันดาเขาก็ถือว่ามีความโดดเด่นชัดเจนนะคะ ต้องขอบพระคุณคุณชานนท์มากๆ เลยนะคะ พอมาอยู่ที่ Origin ก็ทำด้านอสังหาฯ แต่มุ่งเน้นคอนโด ปีที่ผ่านมา Origin น่าจะเป็นอันดับ 1 เลยด้วยซ้ำ ทีนี้เมื่อ 4-5 ปีก่อน ก็มีความคิดว่าอยากจะทำธุรกิจอสังหาฯ ในตลาดแนวราบ

2.ความเป็น Specialist ในตัวเอง
ตัวเองคงมีความร่วมสมัยพอสมควร เทียบกับคนรุ่นเดียวกัน เขาคงวางแผนเกษียณแล้ว เรากลับเข้าไปอยู่ในกลุ่มยีนส์ที่เริ่มเป็น Digital Transformer ซึ่งเมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว มันเป็นอะไรที่ใหม่มาก พอยุคนี้มันกลับได้มาใช้จริง ช่วงแรก ๆ ที่เริ่ม มันก็จะเป็นการผสมผสานการออกแบบกับการก่อสร้าง พอเรา setup บริษัทอะไร มันก็จะไปได้เร็ว เพราะว่าเราเข้าใจทุกกระบวนการไม่ใช่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่ง
3.ภาพรวมธุรกิจของ Britania
กรอบการทำงานเราชัดเจนมากว่า เราจะพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวราบโดย Business Model ของกลุ่มบ้านจัดสรร บ้านเดี่ยว บ้านแฝด แล้วก็ทาวน์โฮม จะไม่ได้ทำอะไรที่มีความประหลาดพิสดารมากกว่านั้น ตอนที่นำเสนอต่อบอร์ดก็มองว่า การที่เราจะเข้าตลาด เราจะมองลูกค้าแบบ "Human Centric" คือมองความเป็นมนุษย์ของคน เพราะฉะนั้น เรามองไปที่ "Life Stages"
อย่าง "Brighton" เนี่ยเหมาะกับคนในช่วงที่เพิ่งเริ่มทำงาน เริ่มมีความรับผิดชอบ ครุ่นคิดในสิ่งที่เกี่ยวกับอนาคตตัวเอง เป็นผู้ใหญ่ขึ้น เป็นตัวของตัวเอง มองหาความมั่นคงในตัวเอง เพราะฉะนั้น เราจะเน้นเรื่องฟังก์ชัน เน้นเรื่องประโยชน์หลายๆ แบบ อันนี้ก็จะเป็น Segment แรกที่เราจะเน้นทาวน์โฮม ราคาไม่แพงมาก ไม่ถึง 3 ล้าน
หลังจากนั้น พอเริ่มมีความรัก มีครอบครัวแล้ว ก็จะมองหาอะไรที่มี Privacy มากขึ้น แล้วก็อยู่ในเมืองมากขึ้น อันนี้จะเป็น "Britania" ซึ่งในภาพใหญ่ของ Segments ในตลาด คนกลุ่มนี้จะค่อนข้างเยอะ แต่แน่นอน ยิ่งตลาดใหญ่ ก็ยิ่งมีผู้เล่นเยอะเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็จะเป็นกลุ่ม mass นิดนึงนะคะ Britania เนี่ย เรามอง Life Stage ของคนที่เริ่มต้องการขยับขยายครอบครัวและเริ่มมีคู่ชีวิต มีตัวเล็กๆ แกงค์รถเข็นเริ่มมา หรือคนที่กำลังจะมีลูกคนแรก หรือจะแต่งงาน ระดับราคาก็จะเพิ่มขึ้นนะคะ อยู่ที่ประมาณ 3 ถึง 7 ล้าน
ถัดมาก็คือคนที่เริ่มเป็นระดับ Executive แล้ว คือ "Grand Britania" เพราะฉะนั้นระดับราคาก็จะเป็นอะไรที่ above 7- 8 ล้านขึ้นมา จนถึง 15 ล้าน ความหรูหราในโครงการก็ต้องมีแล้ว ด้วยขนาดพื้นที่ของตัวบ้านก็ดี ฟังก์ชันต่างๆ สภาพแวดล้อมอะไรต่างๆ ที่จะซับพอร์ตความที่เขามี Privilege ในตัวเอง ครอบครัวที่ลูกๆ เริ่มโต เริ่มอยู่ในระดับมัธยมหรือว่าประถมปลาย หรือกำลังจะเข้ามหาวิทยาลัย อันนี้ก็จะเป็นครอบครัวที่ใหญ่ขึ้น
อันท้ายสุดคือ "Belgravia" มันเหมือนเป็น Segment ที่จะบ่งบอกความเข้าใจของทีม Britania ว่าเราเข้าใจ เข้าถึงลูกค้าได้ทุกระดับ แปลว่าเราเข้าถึงได้แม้แต่ตลาด Luxury โดยเรามองลูกค้าเป็น Young Successor กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ เราจะไม่ได้มองลูกค้าเป็นกลุ่มระดับที่เน้นความหรูหราเน้นทองเยอะๆ แต่มันจะไปเน้นออกมาที่คุณภาพแล้วก็ privacy ของโครงการ เพราะฉะนั้นความหรูหราในมุมของ Britania ก็จะเป็นความหรูหราของคนรุ่นใหม่ คนที่มีความทันสมัย เป็นคนยุคดิจิทัลจริงๆ ความหรูหราตรงนี้น่าจะเป็นเรื่องของโลเคชัน น่าจะเป็นเรื่องของ Service
จะเรียนอย่างนี้ค่ะว่า ทั้งหมดนี้ base ของฺ Britania เอง เรามองลูกค้าลงไปถึงระดับ Niche คือเป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่จริงๆ ไม่ใช่ลูกค้าที่อยู่ในตลาดทั่วๆไป เป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้าถึงนวัตกรรม เรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการอยู่อาศัยการเชื่อมต่อกับ Social หรือว่าการที่เขาจะได้เปิดโอกาสทางเลือกในชีวิตได้เอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือโจทย์ที่ทีมพี่จี๊ดจะต้องพยายามเคลียร์ทั้ง product และ service เพื่อให้ตัว business core ของเราสามารถ deliver ออกมาเป็นแบรนด์ Britania ส่งถึงลูกค้าค่ะ
4.โลเคชันที่โดดเด่น
Britania เราเลือกโลเคชันที่อยู่ใกล้ถนนใหญ่ หรือใกล้รถไฟฟ้า ใกล้จุดขึ้นลงทางด่วน ใกล้การเชื่อมต่อโทรคมนาคมอะไรต่างๆ การคมนาคมสายหลักสายรองอะไรต่างๆ ถามว่าอย่างนี้ ราคาที่ดินจะตกไหมคะ คือ พอซื้อบ้าน มูลค่าเพิ่มมันอยู่ที่โลเคชันเลย
สำหรับโลเคชันโซน EEC ก็ถือเป็นพื้นที่ที่เราexploreมาสักระยะในช่วง 2 ปีนี้ ซึ่งเราทำได้ค่อนข้างดี เราเจอ Blue Ocean ว่าทำเลใกล้แหล่งงานมันไปได้ดีมากๆ เช่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ปีที่แล้วเราเปิดไปถึงชลบุรี ปีนี้เราจะไปถึงระยอง ซึ่งจะครบ loop ของตัว EEC แล้ว
เรื่อง community mall ก็มีเจรจาอยู่นะคะ มีหลายกลุ่มที่ให้ความสนใจ Britania ต่อเนื่องจากกลุ่ม Origin ซึ่งได้เข้าไปเป็นดาวเด่นใน EEC จากการทำคอนโด ทำ community mall ทำ mix-use ทำโรงแรม
5.จำนวนโครงการจนถึงปัจจุบัน
จริงๆ แล้วตั้งแต่เปิดโครงการมาจนถึงตอนนี้รวม 21 โครงการ ปิดไปแล้ว 2 เหลือ 19 ทีนี้ใน 19 เนี่ย ถามว่าระยะเวลาทำงานจริงๆ มันก็คือแค่ประมาณ 4 ปี ซึ่ง 4 ปี 19 โครงการ ถ้าโครงการแรกๆ ไม่ประสบความสำเร็จ เราคงเปิดไม่ได้มากขนาดนี้ การที่เราเติบโต ที่เราประสบความสำเร็จ ก็ดูจากตัว Absorption Rate ของการปิดโครงการ อายุโครงการส่วนใหญ่เขาก็จะราว ๆ 2-3 ปี แต่ว่าอายุโครงการของ Britania ถ้าเป็นโครงการระดับประมาณสักพันล้านบวกลบ เราทำแค่ปีกว่าๆ ก็หมด
เราเปิดโครงการแรกปลายปี 2017 ก็มีการตอบรับที่ดีมาก การรับรู้รายได้ปีแรกของปี 2018 ที่เราแจ้งตลาดไปอยู่ที่ 500 กว่าล้านบาท แล้วพอมาถึงปี 2020 ก็วิ่งขึ้นมาอยู่ที่ 2,300 กว่าล้าน ถ้าเป็น Compound Average Growth จะอยู่ที่ประมาณ 113 เปอร์เซ็นต์ ถ้าจะเทียบ year on year ระหว่าง Q3 ปี 2020 กับ Q3 ปี 2021 เรามี Growth ประมาณ 52 เปอร์เซ็นต์ 2 ปีที่ผ่านมา เป็นปีที่มันมีโควิค แต่ว่าเราก็ยังโตได้ ปีที่ผ่านมา เปิดทั้งสิ้น 7,000 กว่าล้านบาท
สำหรับปีนี้ 2022 ก็จะกลับมาเปิดอีกหมื่นกว่าล้าน ช่วงแรก ๆ เราเปิดแค่ 1 โครงการ หลังจากนั้น ก็จะมีโครงการที่ 2 ที่ 3 ตามมา มันอาจจะดูเหมือนเราเติบโตแบบเท่าทวีคูณเพราะว่าฐานมันน้อย แต่ว่าหลังจากนี้ไป ตัวเลขจากปีก่อนๆ จนถึงปีก่อนหน้านี้ ก็จะ realistic ค่อนข้างมาก แม้ว่าฐานเราจะใหญ่ แต่เราก็ยังโตได้ไม่น้อยกว่าที่เคยเปิด แล้วก็ ปีนี้ก็มีการเติบโตที่เพิ่มมากขึ้นจากปีที่แล้ว 7,000 กว่ามาปีนี้อีกหมื่นกว่า ซึ่งส่วนนึงก็ได้อานิสงส์จากการเข้าตลาดด้วย
6.การรับมือกับโควิด-19
คนที่ตั้งสติได้ก่อน คนที่ยึดหลักของความเข้าใจในเรื่องความปลอดภัย hygiene ต่างๆ มันก็จะรอดนะคะ ปีนี้ก็ถือเป็น amazing ของแนวราบทุกบริษัทเลย เพราะว่าตัวเลขแนวราบกลับมาโตขึ้น ขายดิบขายดีกันทุกโครงการ
7.แนวโน้มการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบ
อยากเรียนว่าอย่างนี้ค่ะ Real demand ยังอยู่ ความเป็น Real demand ที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริงๆ ไม่ได้ซื้อเพื่อเก็งกำไร อย่างคอนโด ช่วงก่อนที่โต เพราะซื้อมาเพื่อหา Passive Income แต่ของแนวราบเนี่ยที่เขาโตไม่ได้หวือหวาเพราะว่าเขาเป็น Real demand อย่างแท้จริง พอมันเกิดเรื่องตัวนี้ขึ้นมา appreciation ของการอยู่อาศัยในแนวราบมันปรับ คนเข้าใจมากขึ้นว่า สิ่งเหล่านี้คือความจำเป็นในชีวิต ซึ่งพี่มองว่า มันจะ sustainable พอสมควรนะคะ
ถามท่านผู้ชมทุกท่านเลยว่า เราได้อะไรหรือเรียนรู้อะไรจากโรคระบาดครั้งนี้ เราได้เรียนรู้การที่จะอยู่กับคนในครอบครัว เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเอง โดยที่ไม่ต้องไป sharing กับใคร แต่ sharing กับคนในครอบครัวของเรา เป็น target แรก เราพูดถึง Co-working space ใช่ไหม Co-learning space ใช่ไหมสมัยก่อน แต่เดี๋ยวนี้บ้านเป็นทุกอย่างไหมคะ social กับเพื่อนก็อยู่ที่บ้าน โชว์น้องหมาน้องแมวก็ที่บ้าน วันนี้อยากไปเกาหลีก็เปิด Netflix อยากไปอังกฤษก็เปิด Netflix ดูเลย The Crown บ้านของ Britania ช่วง 2 ปีนี้ เราปรับใหม่ เราขยายพื้นที่ให้กว้างขึ้น เราเพิ่ม comfort zone ของทุกคน แต่ก่อนเรามองว่าชั้นล่างเป็น day zone ชั้นบนเป็น night zone เดี๋ยวนี้ไม่มีแล้ว day หรือ night แต่ทุกคนจะมีพื้นที่ที่เป็น comfort zone ของตัวเองได้ทุกห้อง
8.A Life You Love
เราตั้งปณิธานว่า A Life You Love ให้ลูกบ้านได้ใช้ชีวิตในแบบที่ตัวเองรัก ด้วยความตั้งใจนะคะ มันดูเหมือนเป็นกิมมิค แต่จริงๆ มันคือความตั้งใจที่เราต้องการจะเติมเต็ม แล้วก็ใน Basic ของความทันสมัยในยุคสมัยปัจจุบัน โดยเฉพาะเรื่องความสะอาด ความ hygiene จากธรรมชาติ แล้วก็การออกแบบบ้านให้โปร่งโล่ง มีช่องเปิดที่กว้างขึ้น หรือว่าการระบายอากาศที่ดี การเลือกใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เหล่านี้เนี่ย ก็จะเป็นอะไรที่เรายังทำอย่างต่อเนื่องและมันทำได้เรื่อย ๆ เพราะมันมี innovation ใหม่ๆเข้ามาตลอด แต่ที่สำคัญก็คือความเข้าใจในคุณประโยชน์ของตัวบ้าน ของกลุ่มลูกค้า เมื่อเขาเข้าใจ เขาจะเกิดความต้องการ ถ้าสมมุติน้อง ๆ จบใหม่ตอนนี้ไม่จำเป็นต้องมีรถหรอก แต่อยากมีบ้าน เพราะฉะนั้นกลับมาตอบที่ประโยคคำถามว่าแล้วมันจะบูมหรือว่าจะดรอปลง ต้องตอบอย่างนี้ค่ะว่า demand ที่จะเข้าใจตรงนี้เนี่ย เผลอๆ ก็จะต่อเนื่อง แล้วก็จะเป็นอะไรที่อาจเพิ่มมากขึ้นด้วยซ้ำ แล้วก็สิ่งหนึ่งที่เป็นคล้ายๆกับความอุ่นใจของครอบครัว คือสถานพยาบาลต่างๆ คือเวลาเรานำเสนอโลเคชันเนี่ย เราจะแจ้งลูกค้า จากจุดที่เราอยู่เนี่ย มันห่างจากโรงพยาบาลอะไรบ้าง ใกล้กับอะไรบ้าง กี่นาทีจากรถไฟฟ้านี้ไปถึงสยาม กี่นาทีจากหมู่บ้านเราไปถึงสถานีรถไฟฟ้า เราจะบอกแบบนี้
9.Britania เรือธงของกลุ่ม Origin
ก็ภูมิใจนะคะที่คุณพีระพงศ์เลือก Britania เป็น flagship ของกลุ่ม คำว่า "flagship" เนี่ยมันคือ "เรือธง" เรือที่แม่ทัพให้ความสำคัญ และเลือกให้นำทั้งกองทัพ หมายถึง ทีม Origin ทั้งหมด ที่มีบริษัทลูกอีกเป็น 10 บริษัท ไปในทิศทาง และน่านน้ำที่ดี น่านน้ำใหม่ และสามารถไปยังจุดหมายตามที่ต้องการได้ สามารถที่จะพาทั้งทีมไปประสบความสำเร็จ เรารู้สึกว่ามันมีความหมายมากนะคะสำหรับคนทำงาน ไม่ใช่แค่คำเยินยอหรือมาร์เก็ตติงเพื่อสร้างการตลาดให้มีความหวือหวา
10.Britania way
ผลการดำเนินงานที่ดีมันก็ต้องมีองค์ประกอบทั้งจากทีมงาน ระบบการทำงาน และความสามารถในการแข่งขันขององค์กร ซึ่งถ้าพูดแบบนี้ เราพูดถึงเรื่องระบบงานแล้ว เราพูดถึงตัวความสามารถในการแข่งขันแล้ว อีกอันที่จะไม่พูดไม่ได้ก็คือทีมงาน พี่จี๊ดโชคดีที่ได้ทีมงานที่ดี เรียกว่าเป็น dream team สำหรับพี่นะคะ เป็น combination ที่มีทั้งคนรุ่นใหม่จาก Origin แล้วก็คนที่มีประสบการณ์ในวงการ ผสมผสานกันขึ้นมา
เรียกว่า "Britania way" วิธีการทำงานแบบ Britania ก่อนที่เราจะทำอะไร เราจะถามก่อนว่าลูกค้าได้อะไร แก้โจทย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง pain point หรือหาจุดใหม่ๆ หรือเป็นอะไรที่ช่วยส่งเสริมสังคม และสิ่งแวดล้อม
คำว่า "BRI" ที่อยู่ในตัวย่อของเรานั่น ตัว B ย่อมาจาก "Best" คุณจะ Best location, Best service, Best Quality, Best design หรืออะไรก็แล้วแต่ โดยโปรเจคที่คุณ derive มาเนี่ย มัน best อะไร ส่วน R มาจาก "Responsibility to stakeholders" ไม่ใช่แต่กับลูกค้า แต่กับทีมงานด้วย และสุดท้าย I คือ "Integrity" เราคือบริษัทมหาชน ซึ่งเราจะต้องมีความเที่ยงธรรมเที่ยงตรงและซื่อสัตย์ อันนี้ถึงจะครบ
ทุกคนจะต้องทำงานบนพื้นฐาน Britania way แล้วก็ภายใต้องค์ประกอบนี้ คือ combination ที่ทุกคนมี Engagement การมีส่วนร่วม ไม่ใช่แค่พนักงานกับบริษัทแต่หมายถึงคู่ค้าด้วย อย่างผู้รับเหมาหรือ supplier เราก็ให้เขามีส่วนร่วมใน information พออะไรที่มันสำเร็จ มันก็จะสำเร็จพร้อมกัน
11.โครงการใหม่ๆ ในอนาคต
ปีนี้ ช่วงแรกจะมีโครงการที่เปิดในโซนกรุงเทพฯตะวันออก แล้วก็จะมีในโซนที่ต่อเนื่องจากทำเลที่เราได้ไปบุกเบิกใหม่ นั่นคือ แถวราชพฤกษ์-นครอินทร์ โดย Q1 อาจจะเปิดแค่ 2 โครงการ ขณะที่ Q2 Q3 Q4 ก็จะเปิดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง Average Growth ที่มองไว้น่าจะเติบโต 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งก็ถือว่าเป็นมาตรฐานเรา แต่ถ้าเทียบมาตรฐานตลาดก็เอาเรื่องอยู่
12.เป้าหมายของ Britania
เราอยากทำแบรนด์ Britania ให้เป็นที่รู้จักได้ไปทั่วประเทศ การเติบโตช่วง 2-3 ปีนี้ จะเป็นการเติบโตในแต่ละ segment ตามสภาวะตลาด อย่างช่วงโควิดเนี่ย เราจะเน้นเติบโตที่กลุ่ม Grand Britania จริงๆ กลุ่มล่างๆ ก็ยังมีอยู่ แต่ยังไม่ได้โตเร็ว อย่างไรก็ตาม demand ต่อจากนี้ไป พอเศรษฐกิจเริ่ม recover มันก็จะกลับมาที่เค้กก้อนใหญ่ คือตัว Britania ขณะที่การขยายตัวก็คงจะเป็นเรื่องโลเคชัน ควบคู่ไปกับการทำ branding ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น สามารถเข้าถึงผู้บริโภค ทำให้เขาเห็นตัวตนของเรามากขึ้น
13.การเป็นผู้นำในตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบ
Britania เราทำงานอย่างมืออาชีพ เราทำงานเป็นระบบ มีความรับผิดชอบ เราเข้ามาเติมเต็มสีสัน และ vision ของ Origin พอมันมาผนวกรวมกัน กลายเป็นแบรนด์ที่จดทะเบียนในตลาดปุ๊บ "BRI" มันแปลว่า "Growth" เลย เราจะเติบโตอย่าง professional เติบโตอย่างต่อเนื่อง แล้วก็อย่างยั่งยืน และการที่จะเติบโตแบบนี้ได้ เราต้องทำสิ่งที่เรียกว่า Best เราต้องเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ และเราต้องเป็นคนที่มี Integrity
สำหรับตัวเอง เรามุ่งหวังว่า Britania จะเป็นผู้นำในตลาดอสังหาริมทรัพย์แนวราบ และเป็นที่ยอมรับของกลุ่มผู้บริโภคที่เห็นคุณค่าถึงความเป็น Britania อย่างแท้จริง
บทสัมภาษณ์ผู้บริหารชุดนี้จัดทำโดยบริษัท ShareInvestor ผู้ให้บริการด้านสื่อการเงินออนไลน์ เทคโนโลยี และเครือข่ายนักลงทุนสัมพันธ์ชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่ admin.th@shareinvestor.com โทรศัพท์ติดต่อ : 06-3664-4545
เว็บไซต์: www.ShareInvestorThailand.com
[Trackback URL for this entry]