Wednesday, 22 December 2021

บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (JWD)

« บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) | Main | บริทาเนีย จำกัด (มหาชน) (BRI) »

บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร

บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี อินโฟโลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน) (JWD)
ชื่อ: ชวนินทร์ บัณฑิตกฤษดา
ตำแหน่ง: ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร


ธันวาคม 2564

1.คุณชวนินทร์ได้เรียนรู้และเห็นโอกาสอะไรจากสถานการณ์ในครั้งนี้บ้างคะ

จริงๆต้องบอกว่าโควิด-19ตั้งแต่กุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ซึ่งทุกคนก็แพนิคกันหมด ในส่วนของโลจิสติกส์โดยรวมใน ประเทศเราและทั่วโลก ก็ต้องบอกว่าหยุดชะงักนะ ในส่วนของQ2ก็ดรอปดาวน์แล้วก็หยุดชะงักไปพอสมควร ตอนนั้นทางเราก็วางแผนBCP (Business Continuity Plan) ว่าเราจะป้องกันหรือเตรียมงานยังไงให้งานoperationเราไม่หยุดเดิน เราหยุดไม่ได้ เพราะถ้าเราหยุด ลูกค้าเราคงจะแย่ด้วย เรื่องนั้นเราก็ได้เรียนรู้ที่จะ วางแผน เราซ้อมBCPมาทั้งชีวิต ก็ไม่เคยได้ใช้ คราวนี้ได้ใช้ละ โควิดที่ผ่านมาเราใช้ไปประมานสี่รอบแล้ว ได้ เรียนรู้เลยว่าbusinessเองก็ต้องปรับตัวนะ เราเปลี่ยนมาประชุมออนไลน์ สัมภาษณ์ออนไลน์ แต่ในวิกฤติทุกอย่างก็มีโอกาสนะครับ โอกาสก็อยู่ที่คนที่ปรับตัวได้เร็ว เราก็มองว่าในแง่โลจิสติกส์ โอกาสที่เห็นชัดเลยก็คือ ต้อง ยอมรับว่าธุรกิจด้าน B2C, Last mile delivery, Online, E-commerce ต่างๆถือเป็นเทรนด์ในการเติบโตมาตั้งแต่ก่อนมีโควิดด้วยซ้ำ แต่โควิดเร่งให้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นว่าจริงๆแล้วไม่จำเป็นต้องซื้อขายในชาแนลปกติที่ เป็นtraditional tradeแล้ว ออนไลน์ก็มีประสิทธิภาพ การทำงาน การประชุมก็มีประสิทธิภาพ นี่ก็เป็นโอกาส ที่JWDเห็นได้ชัด และเราก็โชคดีที่เริ่มต้นขยายงานด้านB2C, E-commerce และ Last mile delivery มาตั้งแต่ ก่อนมีโควิดแล้ว มันก็ทำให้เราเติบโตได้ดี ที่ผ่านมาเราก็จด JV partner กับพาร์ทเนอร์ที่สำคัญหลายส่วน อีก โอกาสนึงก็คือ เนื่องจากเราไม่มีการเดินทางไปต่างประเทศ เรื่องการลงทุนในภูมิภาคจึงบริหารได้ยากพอ สมควร แต่ก็เป็นสิ่งที่เรา ผู้ถือหุ้น หรือพาร์ทเนอร์ในต่างประเทศพยายามที่จะปรับตัว และเรียนรู้ที่จะอยู่รอด จากวิกฤตินี้

2. การปรับตัวกับราคาน้ำมันที่แพงขึ้น

คือเราพูดถึงสมัยก่อนที่มีเรื่องราคาน้ำมันสวิงขึ้นลง เราเองก็มีการพูดคุยกับลูกค้าทุกรายในแง่ของการที่มันมี เปอร์เซ็นต์ที่จะปรับราคาขึ้น ถ้าราคาน้ำมันขึ้น แต่ต้องยอมรับว่าผลกระทบจากการที่ราคาน้ำมันขึ้นที่ผ่านมา ขึ้นเยอะพอสมควร ทำให้เรามีผลกระทบพอสมควรในเชิงยอดขายกับรายได้ ในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยีด้านEV ซึ่งJWDเองก็มีการร่วมงานกับพาร์ทเนอร์ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นsupplierรายใหญ่ โดยเดือนกุมภาพันธ์นี้เราจะมีการทดลอง ใช้รถEVในfreightของเรา ประมาณสองคัน แล้วก็ยังมีการร่วมงานกับsupplierหรือผู้ผลิตจีน ในการที่จะเอา รถEVที่เป็นรถบรรทุกใหญ่มาใช้งานดู เพราะฉะนั้น แนวโน้มในอนาคต ไม่ว่าเป็นเรื่อง green logistics หรือ การที่เราเป็นบริษัทที่มี ESG ค่อนข้างสูง เราก็คงจะต้องใช้รถไฟฟ้าเพิ่มเติมมากขึ้น

3. ปัญหาการขาดแคลนตู้ตอนเทนเนอร์

จริงๆต้องบอกว่าลูกค้าเราได้รับผลกระทบมากกว่า ซึ่งก็มีลูกค้าหลายๆรายติดต่อมาที่ผม ติดต่อมาจาก ลอสแอนเจลิส แล้วก็ประสานงานกับsupplierในไทย แต่ปัจจุบันไม่สามารถหาตู้คอนเทนเนอร์ได้เลย และก็ทำให้เขาหมดความเชื่อมั่นในการค้าขายกับเมืองไทย ผมก็เลยบอกว่า จริงๆเรื่องขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์มัน เป็นเรื่องglobal impact ไม่ใช่ประเทศไทย มันเกี่ยวกับเรื่อง imbalance freight ระหว่างประเทศใหญ่ๆ ก็ว่ากัน ไป สายเรือก็ต้องpositioningตู้มา แล้วตอนนี้ผมก็เชื่อว่าเวลาที่supply มันขาดแคลน ราคาfreightมันก็สูง ทีนี้ คนแก้ปัญหาที่เป็นเจ้าของเรือ ผมก็ไม่เชื่อว่าเขาอยากไปทำกำไรอะไรมากมาย ก็เป็นเรื่องของfreight account อะไรพวกนี้มากกว่า เรื่องพวกนี้มันไม่ได้กระทบกับเราหรอก แต่มันกระทบกับลูกค้าของเรา กลายเป็นว่าเราก็ ต้องยื่นมือเข้าไปช่วยลูกค้า เราก็ต้องหาพื้นที่storageให้เขาในการที่พักสินค้าระหว่างรอตู้คอนเทนเนอร์อะไร พวกนี้

4. การปรับตัวในยุคDigital Disruption

ถ้าพูดถึงดิจิทัล มันคงไม่ได้หมายถึงระบบหลังบ้าน ระบบบริหารคลังสินค้า หรือfreightรถอย่างเดียว มันก็มีพวกระบบroboticหลังบ้าน ในการเอาหุ่นยนต์มาใช้งานในคลังสินค้าแทนคน เป็นสิ่งที่ JWDทำมา ตลอดสิบปีที่ผ่านมา ก็คือระบบไอทีหลังบ้าน เทคโนโลยีต่างๆ เราก็เป็นเจ้าแรกๆที่เอาเข้ามาใช้ หรือในส่วน เทคโนโลยีการ track and trace พวกinventory หรือการจัดส่งต่างๆ แล้วก็พยายามที่จะimplement นโยบาย ในส่วนของ IT Solution ก็เป็นเรื่องที่เราเอามาใช้ค่อนข้างเยอะ ในส่วนการปฏิบัติงาน เราใช้ Business Intelligence หรือ BI ในการขึ้นจอซึ่งเป็นdashboard ของแต่ละoperationให้ทางผู้บริหารได้เห็น ตัวผมเอง ปัจจุบันก็มีdashboardในเรื่องของรายได้และผลกำไรทุกวัน ที่ผมสามารดูได้

5. Generation gap และการทำงานกับคนรุ่นใหม่

JWD มีอายุปีนี้ก็จะขึ้นปีที่ 43 แล้ว มีพนักงานเก่าแก่ที่เกษียณไปแล้ว จนถึงพนักงานที่เพิ่งจบใหม่มา แล้วbrain inในองค์กรกว่า 2000 คน ก็ค่อนข้างมีความต่างด้าน generation gap พอสมควร เราก็พยายามดึง ประสบการณ์ หรือ knowhow ต่างๆของคนรุ่นเก่ามา brain in กับความมีไฟแรงของเด็กรุ่นใหม่ที่ต้องการ ความสำเร็จและมีความกระตือรือร้น เราก็มีระบบHRหลังบ้านที่แข็งแรงพอสมควร ผมเชื่อว่าเราอยู่ใน อุตสาหกรรมที่ค่อนช้างโชคดี ในขณะที่ทุกคนโดนผลกระทบจากโควิด แต่เราได้รับผลกระทบในทางบวก ใน ขณะที่พนักงานหลายบริษัทต้อง work from home โดนลดเงินเดือน หรือโดนเลิกจ้างบ้างในบางอุตสาหกรรม แต่เราไม่มีการใช้มาตรการเหล่านี้เลยที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าเราโชคดี และพนักงานก็รู้ว่าตัวเองโชคดีที่ บริษัทยังอยู่ในจุดที่แข็งแกร่งในปีนี้ได้

6. การลงทุนในกัมพูชาและภูมิภาคอาเซียน

ที่กัมพูชาเราเข้าไปประมาณสักห้าปีแล้ว เรามีกิจกรรมอยู่สองสามอย่าง อย่างแรกก็คือ คลังสินค้าห้องเย็น และ ปกติ รวมถึงระบบจัดส่งต่างๆ ซึ่งตอนเราเข้าไป เราเน้นเรื่องกลุ่มอาหาร ก็ไปจับมือกับพาร์ทเนอร์ที่ได้franchise ของ Pizza Company หรือ Swensens เราก็ไปทำงานให้เขา ส่วนที่สองคือนิคมอุตสาหกรรม Phnom Penh special economic zone ซึ่งเราถือหุ้นประมาณ 14.6% เราเข้าไปถือหุ้นตอนเขาเข้าตลาดในกัมพูชา ส่วน สุดท้ายคือ inland container port ในพนมเปญ ซึ่งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมนี้ด้วย เติบโตค่อนข้างดี ฟื้นตัวจาก โควิดแล้ว และก็มีการขนส่งข้ามแดนค่อนข้างเยอะ เพราะราคาเรือปัจจุบันค่อนข้างสูง ลูกค้าจึงเปลี่ยนมา ขนส่งinland มากขึ้นในส่วนของกัมพูชา

7. ธุรกิจโลจิสติกส์เปรียบเสมือนกระดูสันหลังของเศรษฐกิจ

ใช่ครับ เรื่องนี้สำคัญมากเลย อย่างที่ผมเรียน มันกลับกันนะ เวลาอยู่ในช่วงวิกฤติ จะอะไรก็แล้วแต่ ผมมองว่าผู้ ประกอบการทุกคนต้องการทำให้ตัวเองอยู่รอด คนที่จะมาซัพพอร์ตด้านbackend การขนส่ง การจัดการคลัง สินค้า หรือโลจิสติกส์ การทำ air-freight sea-freight ต่างๆ ก็เป็นบุคคลสำคัญ งานโลจิสติกส์ก็จะมีตลอด ไม่ ว่าจะสถานการณ์ดีหรือไม่ดี เพียงแต่ว่าในช่วงที่เศรษฐกิจดี ทุกคนมีความสุข บริษัทโลจิสติกส์กิจการดี volumeเยอะ supplyเยอะตามไปด้วย ก็เกิดการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง ตรงนั้นก็จะเป็นเวทีของผู้ใช้บริการที่จะ เลือกบริษัท แล้วก็ต่อรองราคาได้ โลจิสติกส์เป็นอาชีพที่แปลก ส่วนใหญ่จะไม่ได้มีการขึ้นราคา แต่จะโดนลด ราคาตลอดเวลา เพราะว่าเราทำธุรกิจบริการ และกำไรของเราก็คือต้นทุนของลูกค้า เพราะฉะนั้นเราจะไม่เคย ได้ยินคำว่าจะเพิ่มต้นทุนโลจิสติกส์ มีแต่จะลดต้นทุน

8. ธุรกิจ Art Storage

จริงๆต้องบอกว่า บริษัทแรกที่JWD operateเมื่อ 43 ปีที่แล้วเป็นบริษัทขนย้าย ย้ายบ้าน ย้ายสำนักงาน จัดงาน หรือย้ายงานด้านexhibition ซึ่งเกี่ยวเนื่องกันกับงานart ซึ่งก่อนหน้าที่เราจะทำธุรกิจ JWD Art Space ขึ้นมา เมื่อประมานสักสองถึงสามปีก่อนโควิด เรามีการแพคงานศิลปะ หรือทำงานให้กระทรวงวัฒนธรรมอยู่แล้ว เราก็ เห็น pain pointในแง่ของการสะสมรูป หรือการนำเข้า-ส่งออก ผลงานศิลปะต่างๆ อย่างเช่น รูปด้านหลังผม รูป ทุกรูปมีมูลค่าค่อนข้างสูง ต้องยอมรับว่านักสะสมส่วนใหญ่มักจะสะสมของค่อนข้างเยอะ เต็มไปหมด รูปภาพ โดยปกติจะติดโชว์ที่บ้าน แต่เมื่อรูปเยอะขึ้น พื้นที่ในบ้านไม่พอแล้ว เราก็เอาไปวางไว้มุมห้องหรือในห้องเก็บ ของ แต่รูปpaintingพวกนี้มันsensitiveต่ออากาศ อุณภูมิ ซึ่งอาจจะขึ้นราและเสียหายได้ และผมเองส่วนตัวเป็น นักสะสมอยู่แล้วด้วย เราก็เลยคิดว่า เราน่าจะทำเรื่องนี้ดีกว่า ซึ่งเราก็มีทีมงานที่มีประสบการณ์ใน art industry ประมาน 20-30 ปี เข้ามาร่วมงานกัน เรามีลูกค้าที่ไว้วางใจเราค่อนข้างเยอะ ในส่วนของตัวงานexhibitionที่เรา จัดที่ JWD Art Space ตรงตึกหลังจุฬา เราก็มีงานexhibitionนึง ไม่น่าเชื่อว่าจัดเดือนนึงมีผู้เข้าชมถึงสามหมื่น คน เฉลี่ยแล้ววันละไม่ต่ำกว่าพันคน เป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จ เราเองอยากพัฒนาตลาดนี้ เราอยากให้นัก สะสมรู้จักศิลปินมากขึ้น เราอยากเป็นสะพานเชื่อมระหว่างศิลปินกับนักสะสม และผู้ที่สนใจ โดยการจัดงาน แต่ละครั้งเราไม่เคยเก็บค่าเข้าแสดงงานหรือค่าเข้าชมงาน ซึ่งจะมีนิสิตนักศึกษาเข้ามาเยี่ยมชมค่อนข้างเยอะ ถือว่าเราก็ช่วยสังคมด้วย ในการพัฒนาตลาดงานศิลปะในเมืองไทยให้เจริญก้าวหน้าเหมือนต่างประเทศ

9. อะไรคือความท้าทายสำคัญของคุณชวนินทร์ในตอนนี้

ตอนนี้ความท้าทายสำคัญหลังจากโควิดที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าเราperformค่อนข้างดี เราโตขึ้นเยอะ 3Qที่ ผ่านมาเราโตเพิ่มขึ้นตลอด ความท้าทายของผมก็คือ ปีหน้าเราจะโตต่อยังไง แล้วเราจะmaintain performance สำหรับปีนี้ได้ยังไง ในขณะที่ตอนนี้ก็มีข่าวเรื่องโอไมครอน ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะมีความรุนแรงขนาด ไหน และสิ่งที่เราทำบัดเจทของปีหน้าที่จะโตต่อ โดยเฉพาะในส่วนของtop line และ bottom line เราจะโตต่อ ได้จริงไหม นั่นคือความท้าทายของเรา

10. เราต้องไม่ภูมิใจกับความสำเร็จในอดีต

ผมเป็นคนเชื่อว่า เวลาเราประสบความสำเร็จ เนื่องจากเราเป็นlisted company คือพอเราทำอะไรได้สำเร็จ ทุก คนก็เฝ้ามองเราละ เพราะเราอยู่ในตลาด ข่าวสารทุกอย่างค่อนข้างเปิดเผย แทบจะหมดเปลือก เพราะฉะนั้น บริษัทโลจิสติกส์ที่มองเราเป็นตัวอย่าง หรือจะทำธุรกิจแบบเราก็สามารถทำได้ ดังนั้น ผมเชื่อว่าอะไรที่เราทำสำเร็จทุกคนก็มองเหมือนกัน อย่างเช่นห้องเย็น เราขยายได้เยอะ ทุกคนตอนนี้ก็เข้ามาทำในเรื่องของขนส่ง อุณหภูมิเยอะมาก ซึ่งผมมองเป็นเรื่องน่าดีใจ เราเป็นเจ้าแรกที่ทำ คนอื่นก็มองเห็นว่ามันมีศักยภาพ ฉะนั้น เรา พยายามจะเป็น first mover เป็นเจ้าแรกๆในการที่จะ create product ใหม่ๆหรือ product ที่อยู่ในเทรนโลจิ สติกส์ที่ทางบอร์ดบริหารมองว่า สามารถที่จะเติบโตได้อย่างยั่งยืน และเป็นตลาดที่มีอนาคต ฉะนั้น หน้าที่ของ ผมก็คือ เมื่อเราเซตโปรเจคอะไรใหม่ๆเสร็จเรียบร้อย มีทีมบริหารดูแลเรียบร้อย หน้าที่ของผมกับ ทีมcommercial ก็คือการหาโปรดักใหม่ๆในการที่จะพัฒนาโปรดักที่จะไปแก้pain pointให้กับลูกค้าไม่ว่าจะ เป็นB2B หรือ B2C ก็ต้องเชื่ออย่างนึงว่าเมื่อมีผู้เล่นเข้ามาเยอะขึ้น profit margin หรืออะไรที่เราทำในอดีต มันก็จะลดลงเรื่อยๆ ผมจึงพูดเสมอว่า ถ้าเรานั่งเฉยๆ กำไรเราก็จะลดลงเรื่อยๆ หรือต่อให้รายได้เราเพิ่มขึ้น แต่ยัง ไงmarginก็ลดลงอยู่ดี เพราะตลาดถูกแบ่ง แล้วก็ ทุกคนชอบเล่นนโยบาย price war อยู่แล้ว ก็ตัดราคาลงเพื่อ ให้ได้ลูกค้า เพราะฉะนั้น ผมเองก็จะยึดนโยบายว่าเราจะไม่หยุดนิ่ง เราจะเดินไปเรื่อยๆ มองหาโอกาสใหม่ๆ

11. แรงบันดาลใจของคุณชวนินทร์

แรงบันดาลใจในการทำงานของผม ต้องยอมรับว่าผมเองเข้ามารับผิดชอบงานด้านนี้เนื่องจากคุณพ่อเสียไป ค่อนข้างเร็ว โดยที่ตอนนั้นผมก็อายุแค่ 29 เพราะฉะนั้น ผมเองก็มีเป้าหมาย และแรงบันดาลใจในสิ่งที่คุณพ่อผม วางเป้าไว้ว่าอยากเอาบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ เราก็ทำได้ตามเป้าหมายของคุณพ่อ มีหลายอย่างที่คุณพ่อ อยากทำ ตอนนี้ผมก็ทำให้ท่านเกือบครบแล้วนะ ก็ยังขาดอีกแค่อย่างสองอย่างที่ยังไม่ได้ทำ

12. เป้าหมายของคุณชวนินทร์

เป้าหมายของผมเองก็คือ การนำพากลุ่มบริษัทJWDให้เติบโต เราก็มีแผนยุทธศาสตร์ 5 ปีที่เคยคุยให้นักลงทุน กับshareholderฟัง จนถึงปี 2025 เราก็ตั้งเป้าว่าเราอยากมีรายได้สักหนึ่งหมื่นล้าน แล้วก็มีผลกำไรเป็นเลข สองdigit นั่นก็คือเป้าหมายในปี 2025 แล้วก็เป็น logistics supply chain ที่สามารถบริหารและให้บริการใน ภูมิภาคได้ ซึ่ง ณ ปัจจุบัน เราก็มีสำนักงานครอบคลุมในอาเซียน โดยเฉพาะเวียดนาม ซึ่งเราก็ถือหุ้นอยู่ใน บริษัท Transimex Corporation ซึ่งเป็นlisted companyที่เติบโตค่อนข้างดี นอกจากนี้ เราอยากทำให้บริษัทมี CG scoreที่ดี ซึ่งเราก็ได้ CG score 5 ดาวมาสองปีซ้อนแล้ว เราเป็นบริษัทที่อยู่ในTHSI (Thailand Sustainability Investment) ลิสของหุ้นยั่งยืน ปีนี้ก็ได้รางวัลRising Star ของ Set Awards แล้วก็ได้รับรางวัล Best IR Awards เราพยายามปรับเปลี่ยน family business ในอดีตให้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดที่มี คุณภาพ และเป็นบริษัทโลจิสติกส์ในภูมิภาคชั้นนำที่ทุกคนอยากจะเอาเป็นแบบอย่าง นั่นก็คือเป้าหมายของเรา

 


บทสัมภาษณ์ผู้บริหารชุดนี้จัดทำโดยบริษัท ShareInvestor ผู้ให้บริการด้านสื่อการเงินออนไลน์ เทคโนโลยี และเครือข่ายนักลงทุนสัมพันธ์ชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อที่ admin.th@shareinvestor.com โทรศัพท์ติดต่อ : 06-3664-4545
เว็บไซต์: www.ShareInvestorThailand.com

Posted by shareinvestor at 10:51 AM in Executive Talk by ShareInvestor

 

[Trackback URL for this entry]

Your comment:

(not displayed)
Code:
 
 
 

Live Comment Preview:

 
« December »
SunMonTueWedThuFriSat
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031