Wednesday, 29 January 2014

ปรับพอร์ตรับมือความไม่แน่นอนทางการเมือง

« รับมือการเข้าสู่ Aging Society ด้วยการจัดพอร์ตแบบ “สมดุลตามอายุ” | Main | กลยุทธ์การลงทุนรับภาวะการเมืองร้อน เศรษฐกิจโรย ปี 2557 »

ก้าวเข้าสู่ปี 2557 กันแล้วนะครับ เรียกได้ว่าเป็นการเปิดปีใหม่ที่ค่อนข้างท้าทายสำหรับตลาดทุนประเทศไทยบ้านเรา โดยปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองได้กดดันดัชนีตลาดหุ้นให้ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2556 ที่ผ่านมา ประกอบกับประเด็นเรื่องการลด QE ของทางสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติลดการลงทุนในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง โดยปีที่ผ่านมาเรียกได้ว่าเป็นปีที่นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ เกือบ 2 แสนล้านบาท

ความไม่แน่นอนทางการเมืองของประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Market)

แปลกแต่จริง ที่ ณ เวลานี้ความไม่แน่นอนทางการเมือง ได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในหลายประเทศในกลุ่ม Emerging Market มากที่สุดในรอบทศวรรษที่ผ่านมา นอกจากประเทศไทยเราก็มีอีกหลายประเทศที่กำลังเผชิญปัญหาด้านการเมือง ตัวอย่างเช่น

·        ตุรกี มีการประท้วงเกิดขึ้นต่อเนื่องในปีที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องการคอรัปชั่นของรัฐบาล และล่าสุดกำลังจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนมีนาคม 2557 ซึ่งปัญหาอาจทวีความรุนแรงมากขึ้นหากมีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล

·        อินโดนีเซีย มีการประท้วงกันในเรื่องการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันในประเทศ ค่าเงินรูเปียอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และกำลังจะมีการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมนี้

·        กัมพูชา มีปัญหาการประท้วงของประชาชนที่ลากยาวมาจากกลางปี 2556 เกี่ยวกับเรื่องผลการเลือกตั้งในปี 2556 ซึ่งพรรคฝ่ายค้านมองว่ามีการโกงการเลือกตั้ง

นอกจากสามประเทศที่กล่าวถึง ยังมีปัญหาการเมืองเกิดขึ้นในประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม Emerging Market อีก เช่น ยูเครน บังคลาเทศ พม่า ซึ่งมาเกิดขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกันในรอบ 1 2 ปีที่ผ่านมา

 

การกระจายการลงทุนคือคำตอบ

แม้ตลาดหุ้นของประเทศกลุ่ม Develop Market จะปรับตัวเพิ่มขึ้นไปมากพอสมควรในปี 2556 ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม จากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองของประเทศกลุ่ม Emerging Market ข้างต้น การกระจายเงินลงทุนในส่วนของพอร์ตที่เป็นการลงทุนในหุ้นไปยังประเทศอย่าง ญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป และเอเชียเหนือ ยังเป็นทางเลือกที่น่าสนใจในปี 2557 โดยผู้เขียนมองประเทศที่น่าสนใจมีดังนี้

·        ญี่ปุ่น มีนโยบายการทำ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องสูงถึงประมาณ 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ รวมไปถึงการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ น่าจะทำให้ดัชนีหุ้นญี่ปุ่นมีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่องยุโรป

·        ยุโรป เริ่มเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยหลายประเทศที่มีปัญหาวิกฤตหนี้เริ่มทยอยชำระคืนหนี้ได้บางส่วน การเติบโตของเศรษฐกิจเริ่มพลิกกลับมาเป็นบวกหลังจากมีเศรษฐกิจถดถอยในปีที่ผ่านมา

·        เอเชียเหนือ ประเทศอย่างเกาหลี หรือไต้หวัน ที่ไม่มีปัญหาด้านการเมือง และได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าในกลุ่ม Technology และรถยนต์ จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่ Valuation ของตลาดหุ้นยังจัดว่าไม่แพง

สำหรับตลาดหุ้นไทยซึ่งราคาปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก น่าจะเป็นจังหวะให้นักลงทุนทยอยลงทุนระยะยาวแบบไม่ต้องรีบร้อน ทั้งนี้ต้องติดตามปัญหาการเมืองในประเทศอย่างใกล้ชิดว่าจะมีแนวโน้มคลี่คลายลงเมื่อใด ตลาดหุ้นก็น่าจะปรับตัวฟื้นขึ้นได้อย่างชัดเจน ดังนั้นในเวลานี้การกระจายการลงทุนไปยังหุ้นต่างประเทศจึงเป็นกลยุทธ์ที่น่าสนใจครับ

เจษฎา สุขทิศ, CFA | บลจ. ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล จำกัด

Facebook: FundManagerTalk | Twitter: @FundTalk

Posted by Jessada at 9:33 AM in Investment Talk

 

[Trackback URL for this entry]

Your comment:

(not displayed)
Code:
 
 
 

Live Comment Preview:

 
« January »
SunMonTueWedThuFriSat
   1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031